วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559

วรรคทองในวรรณคดีไทย

วรรคทองในวรรณคดีไทย

     วรรคทอง  คือ  คำประพันธ์บางส่วนหรือบางบทที่มีคุณค่าต่อจิตใจของหมู่ชน  ชวนให้จดจำ  เป็นบทที่กินใจ  ด้วยคำประพันธ์ดังกล่าวนั้นมีการเรียงร้อยคำที่ไพเราะ  อีกทั้งให้พลังในด้านความรู้สึกที่ชัดเจนและสะเทือนอารมณ์ก่อให้เกิดจินตภาพ  (ภาพที่เกิดจากความนึกคิดหรือที่คิดว่าควรจะเป็นเช่นนั้น  หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  ภาพลักษณ์  นะครับ)   “จินตภาพ”  หรือ  “ภาพลักษณ์”  นี้  ตามความหมายในพจนานุกรมไทยมีความหมายตรงกับคำที่บัญญัติศัพท์มาจากภาษาอังกฤษคือ  คำว่า  “image”     

          คำว่า  “ทอง”  เปรียบได้กับสิ่งที่มีคุณค่าแห่งจิตใจ  ทองหากเทียบกับเงินแล้วย่อมมีพลังในด้านราคามากกว่า  แต่ในด้านวรรณกรรมเราจะไปใช้กับราคาก็ไม่เหมาะ  เพราะเงินไม่สามารถซื้อทุกสิ่งทุกอย่างได้เสมอไป  นะคะ




วรรคทองของสุนทรภู่

          แม่รักลูกลูกก็รู้อยู่ว่ารัก

คนอื่นสักหมื่นแสนไม่แม้นเหมือน

จะกินนอนวอนว่าเมตตาเตือน

จะจากเรือนร้างแม่ไปแต่ตัว

แม่วันทองของลูกจงกลับบ้าน
เขาจะพาลว้าวุ่นแม่ทูนหัว
จะก้มหน้าลาไปมิได้กลัว
แม่อย่ามัวหมองนักจงหักใจ

นางกอดจูบลูบหลังแล้วสั่งสอน

อำนวยพรพลายน้อยละห้อยไห้

พ่อไปดีศรีสวัสดิ์กำจัดภัย

จนเติบใหญ่ยิ่งยวดได้บวชเรียน

ลูกผู้ชายลายมือนั้นคือยศ

เจ้าจงอตส่าห์ทำสม่ำเสมียน

แล้วพาลูกออกมาข้างท่าเกวียน

จะจากเจียนใจขาดอนาถใจ

                 (ขุนช้างขุนแผน  ตอน  พลายงามพบพ่อ)

          จะพูดจาปราศรัยกับใครนั้น
อย่าตะคั้นตะคอกให้เคืองหู
ไม่ควรพูดอื้ออึงขึ้นมึงกู
คนจะหลู่ล่วงลามไม่ขามใจ

                 (สุภาษิตสอนหญิง  ของ  สุนทรภู่)

          แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์
มันยากสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด
ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน
มนุษย์นี้ที่รักอยู่สองสถาน
บิดามารดารักมักเป็นผล
ที่พึ่งหนึ่งพึ่งได้แต่กายตน
เกิดเป็นคนคิดเห็นจึงเจรจา
แม้นใครรักรักมั่งชังชังตอบ
ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา
รู้สิ่งไรไม่สู้รู้วิชา
รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี

         (จากเรื่องพระอภัยมณี  ของ  สุนทรภู่)

          ถึงหน้าวังดังหนึ่งใจจะขาด
คิดถึงบาทบพิตรอดิศร
โอ้ผ่านเกล้าเจ้าประคุณของสุนทร
แต่ปางก่อนเคยเฝ้าทุกเช้าเย็น
พระนิพพานปานประหนึ่งศีรษะขาด
ด้วยทุกข์ยากยากแค้นถึงแสนเข็ญ
ทั้งโรคซ้ำกรรมซัดวิบัติเป็น
ไม่เล็งเห็นที่ซึ่งจะพึ่งพา
                    (จาก  นิราศเมืองแกลง ของ สุนทรภู่)

          มีสลึงพึงประจบให้ครบบาท

อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์ 
จงมักน้อยกินน้อยค่อยบรรจง

อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน 
ไม่ควรซื้อก็อย่าไปพิไรซื้อ

ให้เป็นมื้อเป็นคราวทั้งคาวหวาน 
เมื่อพ่อแม่แก่เฒ่าชรากาล

จงเลี้ยงท่านอย่าให้อดระทดใจ  
ด้วยชนกชนนีนั้นมีคุณ

ได้การุญเลี้ยงรักษามาจนใหญ่ 
อุ้มอุทรป้อนข้าวเป็นเท่าไร

หมายจะได้พึ่งพาธิดาดวง

          อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก 
แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย
แม้เจ็บอื่นหมื่นแสนจะแคลนคลาย
เจ็บจนตายนั้นเพราะเหน็บให้เจ็บใจ

                     (จากเพลงยาวถวายโอวาท  ของ สุนทรภู่)

          อันนินทากาเลเหมือนเทน้ำ
ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดมากรีดหิน
แค่องค์พระปฏิมายังราคิน
คนเดินดินหรือจะสิ้นคนนินทา 
                     (จากพระอภัยมณี  ของ สุนทรภู่)

          ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร
ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
แม้เกิดในใต้ฟ้าสุธาธาร
ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา
แม้เนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ
พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา
แม้เป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา
เชยผกาโกสุมประทุมทอง

แม้เป็นถ้ำอำไพใคร่เป็นหงส์
จะร่อนลงสิงสู่เป็นคู่สอง
ขอติดตามทรามสงวนนวลละออง
เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป

                     (จากพระอภัยมณี  ตอน พระอภัยมณีเกี้ยวนางละเวง ได้ถูกนำไปดัดแปลงเล็กน้อยกลายเป็นเพลง “คำมั่นสัญญา” ของ สุนทรภู่)

          เขาย่อมเปรียบเทียบความว่ายามรัก 
แต่น้ำผักต้มขมชมว่าหวาน
ครั้นรักจางห่างเหินไปเนิ่นนาน
แต่น้ำตาลว่าเปรี้ยวไม่เหลียวแล

                     (จากนิราศเจ้าฟ้า  ของ สุนทรภู่)

          เป็นมนุษย์สุดนิยมเพียงลมปาก
จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา 
แม้นพูดดีมีคนเขาเมตตา 
จะพูดจาพิเคราะห์ให้เหมาะความ

                     (จากพระอภัยมณี  ของ สุนทรภู่)

นิราศภูเขาทองของสุนทรภู่  (นิราศภูเขาทองนี้ เป็นนิราศที่ไพเราะที่สุด)
          ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์     มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต

แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร            จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา  

          ไม่เมาเหล้าแล้วแต่เรายังเมารัก

สุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน
ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป

แต่เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืนฯ

          ถึงบางเดื่อโอ้มะเดื่อเหลือประหลาด

บังเกิดชาติแมลงหวี่มีในไส้
เหมือนคนพาลหวานนอกย่อมขมใน

อุปไมยเหมือนมะเดื่อเหลือระอา
                       (นิราศภูเขาทอง)

วรรคทองจากเรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

     “แล้วว่าอนิจจาความรัก
พึ่งประจักษ์ดั่งสายน้ำไหล
ตั้งแต่จะไหลเชี่ยวเป็นเกลียวไป
ที่ไหนเลยจะไหลคืนมา “

        เป็นตอนที่อิเหนาต้องจากนางจินตะหราเพื่อไปรบกับท้าวกะหมังกุหนิง โดยนางจินตะหรากล่าวเปรียบเทียบว่า ความรักของอิเหนานั้นคงเป็นเหมือนสายน้ำที่ไหลแล้วก็ไหลลับไม่กลับมาอีก เพราะอิเหนามีคู่หมั้นเก่า คือ นางบุษบา 

วรรคทองจากเรื่อง มัทนะพาธาคำฉันท์

          “ความรักเหมือนโรคา
บันดาลตาให้มืดมน
ไม่ยินและไม่ยล
อุปสรรคใดใด
          ความรักเหมือนโคถึก
กำลังคึกผิขังไว้
ก็โลดจากคอกไป
บ่ยอมอยู่ ณ ที่ขัง
          ถึงหากจะผูกไว้
ก็ดึงไปด้วยกำลัง
ยิ่งห้ามก็ยิ่งคลั่ง
บ่หวนคิดถึงเจ็บกาย”

             เป็นตอนที่ท้าวชัยเสนไปพบนางมัทนะพาธาในป่า แล้วต้องการเป็นชายา ฤษีกาละทรรศินซึ่งมีนางคนรับใช้จึงเตือนว่า  “ความรักมีได้แต่ต้องระวัง”

              ฤษีกาละทรรศินเปรียบความรักเหมือนโรคร้าย หากมีเข้าก็จะเปรียบเหมือนคนตาบอดหูหนวก ไม่ได้ยินได้เห็นอะไรทั้งสิ้น และก็เปรียบความรักเป็นโคหนุ่ม เพราะมีทั้งแรงและกำลัง จะกักขังไว้ก็ไม่ได้มันก็จะพยายามพุ่งออกไปจนลืมความเจ็บปวด  แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภท อินทรวิเชียรฉันท์  ๑๑ 

          เรื่อยเรื่อยมารอนรอน

ทิพากรจะตกต่ำ
สนธยาจะใกล้ค่ำ

คำนึงหน้าเจ้าตราตรู
          เรื่อยเรื่อยมาเรียงเรียง

นกบินเฉียงไปทั้งหมู่
ตัวเดียวมาพลัดคู่

เหมือนพี่อยู่ผู้เดียวดาย
             (จาก  กาพย์เห่เรือ  ของ  เจ้าฟ้ากรมขุนเสนาพิทักษ์ มีพระนามเดิมว่า  เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐสุริยวงศ์ หรือพระนามที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร หรือ เจ้าฟ้ากุ้ง)

โคลงสยามานุสสติ
  รักราช จงจิตน้อม            ภักดี ท่านนา 

รักชาติ์ กอบกรณีย์               แน่วไว้ 
รักศาสน์ กอบบุญตรี             สุจริต ถ้วนเทอญ 
รักศักดิ์ จงจิตให้                   โลกซร้องสรรเสริญฯ

  ยามเดินยืนนั่งน้อม          กะมล 
รำลึกถึงเทศตน                    อยู่ยั้ง 
เปนรัฏฐะมณฑล                  ไทยอยู่ สราญฮา 
ควรถนอมแน่นตั้ง                 อยู่เพี้ยงอวสานฯ
  ใครรานใครรุกด้าว            แดนไทย 
ไทยรบจนสุดใจ                    ขาดดิ้น 
เสียเนื้อเลือดหลั่งไหล        ยอมสละ สิ้นแล 
เสียชีพไป่เสียสิ้น                 ชื่อก้องเกียรติงามฯ
  หากสยามยังอยู่ยั้ง            ยืนยง 
เราก็เหมือนอยู่คง                 ชีพด้วย 
หากสยามพินาศลง               ไทยอยู่ ได้ฤๅ
เราก็เหมือนมอดม้วย             หมดสิ้นสกุลไทยฯ 
            (พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่    พบว่า  โคลง    บทสุดท้ายนี้เราได้นำมาร้องเพลง  ประเภทเพลงปลุกใจ)   สยามานุสสติ เป็นคำโคลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๑ และได้พระราชทานแก่ทหารอาสาสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๑  ต่อมาได้มีการนำโคลงนี้มาแต่งเป็นเพลงปลุกใจ ซึ่งประพันธ์ทำนองโดยนารถ ถาวรบุตร

      นานาประเทศล้วน      นับถือ

คนที่รู้หนังสือ                     แต่งได้

ใครเกลียดอักษรคือ            คนป่า

ใครเยาะกะวีไซร้                  แน่แท้คนดง
                     (พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่    เรื่อง พระนลคำหลวง) 

  เสียงฦๅเสียงเล่าอ้าง          อันใด พี่เอย 
เสียงย่อมยอยศใคร              ทั่วหล้า 
สองเขือพี่หลับไหล               ลืมตื่น ฤๅพี่ 
สองพี่คิดเองอ้า                   อย่าได้ถามเผือ

                                        (จากลิลิตพระลอ) 

          ปากเป็นเอกเลขโทโบราณว่า
หนังสือตรีมีปัญญาไม่เสียหาย
ถึงรู้มากไม่มีปากลำบากตาย
มีอุบายพูดไม่เป็นเห็นป่วยการ
ถึงเป็นครูรู้วิชาปัญญามาก
ไม่รู้จักใช้ปากให้จัดจ้าน
เหมือนเต่าฝั่งนั่งซื่อฮื้อรำคาญ
วิชาชาญมากเปล่าไม่เข้าที

     (จาก วิวาห์พระสมุทร  เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นบทละครพูดสลับลำ มีทั้งบทร้องและบทเจรจา)





สื่อการเรียนรู้ เรื่องวรรคทองในวรรณคดีไทยค่ะ ^^







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น